หากคุณเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาในสาขาวิชาเคมี สิ่งที่คุณคุ้นเคยเป็นอย่างดี คงหนีไม่พ้นการสอบปฏิบัติการจับเวลา หรือที่เรียกคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีว่า การสอบแลปกริ๊ง แต่น้อง ๆ หลายคน หรือบุคคลทั่วไป อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการสอบในรูปแบบนี้นัก วันนี้ ทางเราจึงได้อาสาไปรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการสอบประเภทนี้มาฝาก
สอบแลปกริ๊งคืออะไร
การสอบแลปกริ๊ง คือการสอบเชิงทฤษฎี หรือเชิงปฏบัติ ที่ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องทำข้อสอบให้ทัน ภายในเวลาที่กำหนด และสับเปลี่ยนหรือหมุนเวียน ไปตามจุดสอบต่าง ๆ การสอบในรูปแบบนี้ ขึ้นชื่อว่า เป็นการสอบที่ค่อนข้างตึงเครียดสำหรับนักศึกษาเคมี เพราะนอกจากจะต้องมีความแม่นยำในเนื้อหาแล้ว ยังต้องเผชิญกับความกดดัน จากระยะเวลาที่จำกัดอีกด้วย
วิธีการสอบแลปกริ๊ง
ลักษณะของการสอบแลปกริ๊งนั้น คือการหมุนเวียนไปตามโต๊ะจุดสอบต่าง ๆ โดยแต่ละจุด นักเรียนจะมีเวลาจำกัดในการทำข้อสอบ เมื่อเวลาหมด จะมีเสียงสัญญาณเตือน เพื่อทำการเปลี่ยนย้ายโต๊ะจุดสอบ ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบจุด โดยการสอบนั้น เป็นได้ทั้งการสอบในข้อสอบที่เป็นเอกสาร หรือการทำแลปให้เสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด
ระวังเรื่องการใช้อุปกรณ์ให้ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับกล้องจุลทรรศน์ หากใครที่โชคดี อาจจะได้กล้องตัวใหม่ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่หากใครโชคร้าย ก็อาจต้องทำใจ แต่เราไม่อาจรู้ได้ว่า ใครจะได้กล้องตัวไหน ดังนั้น ควรฝึกฝนและศึกษาการใช้ให้คล่องแคล่ว จะดีกว่า
ปัญหาที่มักจะพบเกี่ยวกับการใช้กล้องจุลทรรศน์
- เปิดกล้องไม่เป็น โดยเฉพาะกล้องสเตอริโอ
- ปรับความเข้มของแสงไม่เป็น ทำให้มองไม่เห็นวัตถุ และอาจเข้าใจว่ากล้องเสีย
- ปรับภาพหยาบ หรือภาพละเอียดไม่เป็น
- ไม่ใช้กระจกปิดสไลด์ อาจทำให้กล้องพังได้
- เลื่อนหาวัตถุบนสไลด์ไม่เจอ
ก่อนการสอบแลปกริ๊ง นอกจากต้องเตรียมตัวด้านเนื้อหาแล้ว ยังต้องเตรียมใจรับมือกับความกดดันต่าง ๆ ระหว่างการทำข้อสอบด้วย